ประชากรในจังหวัดสตูล

จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากถึงร้อยละ 67.8 ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายู มีมัสยิดกลางประจำจังหวัดคือ มัสยิดมำบัง] รองลงมาคือชาวพุทธซึ่งมีอยู่ร้อยละ 31.9 มีวัดทั้งหมด 30 แห่งและที่เหลือคือศาสนาคริสต์ ซึ่งศาสนสถานอยู่ 3 แห่งในเขตอำเภอเมืองสตูล ทุ่งหว้า และละงูในจังหวัดประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในจำนวนนี้มีประชากรร้อยละ 9.9 อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายู โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในสตูลมีความแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบปัตตานี แต่จะมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับชาวมาเลย์ในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และได้รับการผสมผสานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย ชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูแต่เดิมใช้ภาษามลายูเกดะห์  ในการสื่อสาร แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้เช่นเดียวกับเยาวชนในตัวเมืองปัตตานีและยะลา แต่ยังเหลือประชาชนที่ยังใช้ภาษามลายูถิ่นได้ 13 หมู่บ้านใน 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิด นอกนั้นในชีวิตประจำวันชาวสตูลนิยมพูดภาษาไทยมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสที่ร้อยละ 80 ยังใช้ภาษามลายูได้ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นกลุ่มสังคมเมืองซึ่งพูดมลายูได้เล็กน้อยหรือพูดปนภาษาไทยอย่างไรก็ตามอิทธิพลทางด้านภาษามลายูถิ่นในจังหวัดสตูลนั้นยังมีให้เห็นทั่วไป เช่น เกาะตะรุเตา (มาจากคำว่า ตะโละเตา แปลว่า อ่าวเก่าแก่)อ่าวพันเตมะละกา (แปลว่า ชายหาดที่มีชาวมะละกา)อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (มาจากคำว่า ลาอุตเรอบัน แปลว่า ทะเลยุบ) เป็นต้น แต่หลายพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อให้เป็นภาษาไทยไป เช่น อำเภอสุไหงอุเป (มีความหมายว่า คลองกาบหมาก) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทุ่งหว้าบ้านปาดังกะจิ เปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งนุ้ยบ้านสุไหงกอแระ เปลี่ยนเป็น บ้านคลองขุด เป็นอาทิ
ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดสตูลได้มีการนำหลักสูตรสอนภาษามลายูกลางใน 7 โรงเรียนคือ โรงเรียนบ้านควน โรงเรียนบ้านเจ๊ะบิลัง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง โรงเรียนบ้านแป-ระเหนือ โรงเรียนบ้านสนกลาง โรงเรียนบ้านปากบารา และโรงเรียนบ้านปากละงู ซึ่งในโรงเรียนบ้านควนมีผลการจัดการสอนที่น่าพึงใจ นักเรียนสามารถใช้ภาษามลายูกลางกับนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวมาเลเซียได้ และนำไปสู่การประเมินผล และขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ

แม้ว่าในอดีตสตูลจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสุลต่านแห่งไทรบุรีแต่ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ รวมไปถึงเหตุผลด้านภูมิศาสตร์สตูลจึงนิยมติดต่อกับสงขลามากกว่าไทรบุรี ทำให้ได้รับอิทธิพลทางประเพณีและวิถีชีวิตอย่างสูงจากสงขลา ชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมได้แต่งงานข้ามกันกับชาวไทยพุทธโดยไม่มีความตึงเครียดทางศาสนา ทำให้เกิดกลุ่มสังคมที่เรียกว่า ซัมซัม (มาเลย์: Samsam) ซึ่งในภาษามลายูแปลว่า ลูกครึ่ง ซัมซัมส่วนใหญ่ก็มิได้นับถือศาสนาอิสลามเสมอไปจังหวัดสตูลไม่เหมือนจังหวัดมุสลิมอื่นในไทย เนื่องจากไม่มีประวัติศาสตร์การเผชิญหน้ากับศูนย์กลางการปกครองในกรุงเทพมหานครหรือความตึงเครียดระหว่างชาวไทยพุทธ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น