หน่วยการปกครองจังหวัดสตูล

อำเภอเมืองสตูล เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร การศึกษา และเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองสตูลเป็นอำเภอทางใต้สุดของประเทศไทยด้านชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ปกครองทั้งบนบกและในทะเล สำหรับอาณาเขตทางบกติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าแพและอำเภอควนโดน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับรัฐปะลิส (ประเทศมาเลเซีย)
ทิศใต้ ติดต่อกับรัฐปะลิส (ประเทศมาเลเซีย)
ทิศตะวันตก จรดทะเลอันดามัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองสตูลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 70 หมู่บ้าน 
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองสตูลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
เทศบาลเมืองสตูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมานทั้งตำบล
เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเจ๊ะบิลัง
เทศบาลตำบลฉลุง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลฉลุง
เทศบาลตำบลคลองขุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขุดทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลควนขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนขันทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านควนทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉลุง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลฉลุง)
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่ายทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตันหยงโปทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเจ๊ะบิลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจ๊ะบิลัง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง)
องค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตำมะลังทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลปูยู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปูยูทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนโพธิ์ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกตรีทั้งตำบล

        
 อำเภอควนโดน ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล
         ควนโดน ประกอบไปด้วยคำสองคำคือ ควน กับ โดน คำว่า ควน ในภาษาใต้หมายถึง เนิน ภู เนินเขาเล็กๆ ส่วนคำว่า โดน มีที่มาจากดอกกระโดน หรือต้นกระโดน ดังนั้น ควนโดน จึงมีความหมายว่า เนินเขาที่มีต้นกระโดน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอควนโดนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสะเดา (จังหวัดสงขลา)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสตูลและอำเภอท่าแพ
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอควนโดนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
ควนโดน
(Khuan Don)
9 หมู่บ้าน
2.
ควนสตอ
(Khuan Sato)
10 หมู่บ้าน
3.
ย่านซื่อ
(Yan Sue)
7 หมู่บ้าน
4.
วังประจัน
(Wang Prachan)
4 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอควนโดนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลควนโดน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลควนโดน บางส่วนของตำบลควนสตอ และบางส่วนของตำบลย่านซื่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนโดน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนโดน)
องค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนสตอ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนโดน)
องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านซื่อ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนโดน)
องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังประจันทั้งตำบล


         อำเภอควนกาหลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอควนกาหลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอควนโดนและอำเภอท่าแพ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอละงูและอำเภอมะนัง
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอควนกาหลงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
ทุ่งนุ้ย
(Thung Nui)
12 หมู่บ้าน
2.
ควนกาหลง
(Khuan Kalong)
11 หมู่บ้าน
3.
อุใดเจริญ
(Udai Charoen)
9 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอควนกาหลงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งนุ้ยทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลควนกาหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนกาหลงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุใดเจริญทั้งตำบล




         อำเภอท่าแพ ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอท่าแพมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอละงูและอำเภอควนกาหลง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมืองสตูล
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสตูลและทะเลอันดามัน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามันและอำเภอละงู
การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอท่าแพแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ตำบล 28 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
ท่าแพ
(Tha Phae)
10 หมู่บ้าน
2.
แป-ระ
(Paera)
6 หมู่บ้าน
3.
สาคร
(Sakhon)
7 หมู่บ้าน
4.
ท่าเรือ
(Tha Ruea)
6 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอท่าแพประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแพทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแป-ระทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลสาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาครทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล


         อำเภอละงู ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอละงูมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอมะนัง อำเภอควนกาหลง และอำเภอท่าแพ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าแพและทะเลอันดามัน
ทิศตะวันตก จรดทะเลอันดามัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอละงูแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
กำแพง
(Kamphaeng)
12 หมู่บ้าน
2.
ละงู
(La-ngu)
18 หมู่บ้าน
3.
เขาขาว
(Khao Khao)
7 หมู่บ้าน
4.
ปากน้ำ
(Pak Nam)
7 หมู่บ้าน
5.
น้ำผุด
(Nam Phut)
11 หมู่บ้าน
6.
แหลมสน
(Laem Son)
6 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอละงูประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลกำแพง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกำแพง
องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกำแพง)
องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละงูทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาขาวทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำผุดทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมสนทั้งตำบล


        อำเภอทุ่งหว้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอทุ่งหว้าตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปะเหลียน (จังหวัดตรัง)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอละงู
ทิศตะวันตก จรดทะเลอันดามัน
ประวัติ
ทุ่งหว้าเดิมเรียกว่า "สุไหงอุเป" (Su-ngai Upe) หมายถึง คลองกาบหมาก ขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2440) ทำการค้ากับขาวต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองมาก สินค้าที่มีชื่อเสียงคือพริกไทย ในภูมิภาคแถบนี้ขนานนามว่า "ปีนังน้อย" ส่วนคำว่า "ทุ่งหว้า" มีที่มาจากที่ตั้งของตลาด ร้านค้า และสถานที่ราษฎร ตั้งอยู่กลางทุ่ง มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ต้นหว้า" จึงขนามตามลักษณะที่ตั้งว่า "ทุ่งหว้า"
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอทุ่งหว้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ตำบล 35 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
ทุ่งหว้า
(Thung Wa)
10 หมู่บ้าน
2.
นาทอน
(Na Thon)
9 หมู่บ้าน
3.
ขอนคลาน
(Khon Khlan)
4 หมู่บ้าน
4.
ทุ่งบุหลัง
(Thung Bulang)
5 หมู่บ้าน
5.
ป่าแก่บ่อหิน
(Pa Kae Bo Hin)
7 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอทุ่งหว้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลทุ่งหว้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งหว้า
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทอนทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขอนคลานทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบุหลังทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแก่บ่อหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแก่บ่อหินทั้งตำบล


        อำเภอมะนัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอมะนังตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอละงู
ที่มาของชื่ออำเภอ
ชื่ออำเภอมะนังมาจากคำว่า "ม้ายัง" ม้าหรือรูปม้า ทั้งนี้เนื่องมาจากในท้องถิ่นของอำเภอ มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง ชื่อ ถ้ำระฆังทอง ภายในถ้ำมีรูปปั้นม้าหินอยู่ 1 ตัว เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่บ้านเป็นสัญลักษณ์ในการเดินทางนัดหมาย ต่อมาเพี้ยนมาเป็น "มะนัง"
ประวัติ
ท้องที่อำเภอมะนังเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอควนกาหลง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอมะนัง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอมะนัง ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน
ประชากร
ส่วนใหญ่เป็นคนที่อพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียงอย่างพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราชที่เข้าตั้งถิ่นฐาน และเป็นคนพื้นถิ่นด้วย ประชากรที่นี่ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 60 มีวัดพุทธอยู่ 5 วัด สำนักสงฆ์ 3 แห่ง มีชาวมุสลิมอยู่ประมาณร้อยละ 40 มัสยิด 3 แห่ง สุเหร่า 1 แห่ง
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอมะนังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่
1.
ปาล์มพัฒนา
(Palm Phatthana)
10 หมู่บ้าน
2.
นิคมพัฒนา
(Nikhom Phatthana)
9 หมู่บ้าน
6,510 คน (ธันวาคม พ.ศ. 2550)
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอมะนังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปาล์มพัฒนาทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น